วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หน่วยที่9



สื่อมัลติมีเดีย (Multi-Media)

Multimedia : ความหมายและนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

          สื่อมัลติมีเดีย ( Multimedia ) หรือชื่อเรียกในภาษาไทยว่า สื่อประสม” จะมีการนิยามความหมายและเรียกชื่อแตกต่างกันหลายชื่อ อาทิเช่น
             1. สื่อประสม  หมายถึงการนาเอาสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละชนิดเป็นไปตามลาดับขั้นตอนของเนื้อหา ปัจจุบันมีการนาเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการผลิตหรือควบคุมการทางานของอุปกรณ์ต่างๆในการนาเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบแบบวิดีทัศน์และเสียง
              2. สื่อมัลติมีเดีย  หรืออาจเรียกสื่อประสม หรือสื่อหลายแบบ ซึ่งพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า หมายถึงการใช้อุปกรณ์ต่างๆเพื่อร่วมกันนาเสนอข้อมูลเป็นหลัก โดยเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากเทคนิคการนาเสนอ เช่น ผลลัพธ์ที่เกิดบนจอภาพคอมพิวเตอร์ หรือบนจอรับภาพในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งจะมีคาศัพท์เฉพาะอีกหลายคาที่ใช้ร่วมกับสื่อมัลติมีเดียเช่น การนาเสนอข้อมูลด้วยระบบมัลติมีเดีย ( Multimedia Presentation ) คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยระบบมัลติมีเดีย ( Multimedia CAI ) และคอมพิวเตอร์ระบบมัลติมีเดีย ( Multimedia Computer Systems ) หากพิจารณาการใช้จะพบว่าเป็นการนาเอา Hardware และ Software ไว้ด้วยกันส่วนที่จะเน้นส่วนไหนมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และลักษณะของการใช้
              3. มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  เป็นสื่อมัลติมีเดียที่เน้นการให้ผู้ใช้เป็นผู้ควบคุมการนาเสนอ เป็นผู้เลือกเส้นทางเดิน ( Navigation ) การโต้ตอบ การให้ความรู้และกิจกรรมที่มีในบทเรียน วัตถุประสงค์เพื่อการเรียนการสอนและการฝึกอบรมเป็นหลัก หรือสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน การสอนโดยระบบนี้มีจุดเด่นที่การควบคุมกิจกรรมการเรียน การควบคุมเวลาเรียน และการได้มีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนที่จะส่งผลดีต่อผู้เรียนโดยเฉพาะการเรียนรายบุคคลซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ( Learner Centre )ในวงการศึกษาจะเรียกสื่อลักษณะเช่นนี้ว่ามัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนการสอน ( Interactive Multimedia Instruction : IMI )
               4. ไฮเปอร์มีเดีย( Hypermedia )  เป็นสื่อมัลติมีเดียที่มีการนาเสนอข้อมูลทั้งภาพและเสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว มีการให้คาแนะนาวิธีการใช้และวิธีความคุมเส้นทางโปรแกรมผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลต่างๆได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกใช้ข้อมูล เลือกเส้นทางเดินเพื่อการศึกษาและการสืบค้นได้ตามความต้องการ กล่าวได้ว่าสื่อไฮเปอร์มีเดีย

จะมีประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนได้ปรับโครงสร้างความคิด ความจา ช่วยกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในสาระต่างๆมากขึ้น
                5. ไฮเปอร์เท็กซ์ ( Hypertext ) เป็นรูปแบบการนาเสนอข้อมูลทั้งที่เป็นข้อความ รูปภาพและเสียง โดยใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน เมื่อต้องการสืบค้นข้อมูลผู้ใช้เพียงกาหนดหัวข้อที่ต้องการก็จะทราบข้อมูลนั้นๆในเวลาอันรวดเร็ว
สื่อประเภทต่างๆที่กล่าวในเบื้องต้นนั้น ต่างก็เป็นสื่อประสมระบบสื่อปฏิสัมพันธ์ที่นาเสนอทั้งภาพและเสียงรวมทั้งข้อมูลต่างๆเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนทั้งสิ้น ทั้งนี้การเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไปย่อมขึ้นอยู่กับจุดประสงค์หลักของการใช้เป็นประการสาคัญแต่ยังคงคุณลักษณะของสื่อมัลติมีเดียที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการศึกษาโดยรวม

ภาพที่ 1. ระบบมัลติมีเดียในรูปแบบสื่อไฮเปอร์มีเดีย ( Hypermedia )

มัลติมีเดียที่สามารถส่งต่อไปยังผู้เรียนได้ใน 3 รูปแบบคือ

รูปแบบที่ 1. มัลติมีเดียแบบครูเป็นศูนย์กลาง ( Teacher-Center Mode ) รูปแบบนี้ครูจะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลเนื้อหาที่นักเรียนจะได้รับ รวมทั้งปริมาณข้อมูลที่เผยแพร่ไปยังนักเรียน รูปแบบนี้ประกอบด้วยการนาเสนอ ( Presentation ) และการสาธิต ( Demonstration ) ข้อมูลโดยนักเรียนสามารถจดจาและระลึกข้อมูลด้วยการฝึกฝนและปฏิบัติ ( Drill and Practice ) รวมทั้งการสอนเนื้อหา ( Tutorial ) ด้วยปฏิสัมพันธ์ขั้นสูง โปรแกรมจะบรรจุลงใน CD-ROM และส่งไปยังผู้เรียน และผู้เรียนจะเปิดโปรแกรมและปฏิบัติตามครูบรรยายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเขาเอง

รูปแบบที่ 2. มัลติมีเดียแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ( Student-Center Mode ) รูปแบบนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตัวเขาเองและนาประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงไปสู่กระบวนการเรียนรู้โดยที่ครูจะทาหน้าที่เป็นผู้อานวยความสะดวก ( Facilitator ) โปรแกรมมัลติมีเดียสามารถบรรจุลงในแผ่นผ่าน Browser ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน นักเรียนจะมีอิสระในการเรียนตามเวลาและอัตราความก้าวหน้าของตนเอง รูปแบบนี้จึงยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยสื่อมัลติมีเดียหรือสื่อประสมจะถูกใช้ประโยชน์ในลักษณะของการเรียนแบบเชิงรุก ( Active Learning ) ในการเรียนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning ) รูปแบบนี้จะสนับสนุนการเรียนรู้ระดับสูง เพิ่มระดับความเข้าใจและความจามุ่งไปที่การพัฒนา Self Accessed และ Self-directed Learning ของผู้เรียน

รูปแบบที่ 3. มัลติมีเดียแบบผสมผสาน ( Hybrid Mode ) รูปแบบนี้ครูจะมีความยืดหยุ่นในการมีส่วนร่วมทั้งวิธีการสอนโดยครู และให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูมีบทบาทในส่วนที่จะเพิ่มหรือพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน สื่อมัลติมีเดียรูปแบบนี้สามรรถส่งผ่านเนื้อหาผ่านระบบการสื่อสารดาวเทียมหรือเทคโนโลยีการศึกษาแบบทางไกล ( Distance ) ปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนจะเป็นรูปแบบ Real-time กับครูผ่านทางระบบ Video Conferencing
รูปแบบของระบบการเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย ตามแนวคิดที่ นีโอ และ นีโอ นาเสนอไว้ในเบื้องต้นนั้นสามารถแสดงให้เห็นดังภาพต่อไปนี้

  ภาพที่ 2. ระบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
 
คุณประโยชน์ของสื่อมัลติมีเดียต่อการเรียนการสอน

        สื่อมัลติมีเดีย ( Multimedia ) หรือสื่อประสมจะมีบทบาทและจะเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้และการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพในประเด็นสาคัญดังต่อไปนี้กล่าวคือ 9
1. เนื้อหาบทเรียนในรูปแบบสื่อมัลติมีเดียหรือสื่อประสมจะช่วยในการสื่อสารความรู้จากผู้สอนหรือจากแหล่ง ส่งไปยังผู้เรียนได้อย่างกระจ่างชัดกว่าบทเรียนจากเนื้อหาธรรมดา
2. เอื้อต่อการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนสามารถเลือกหรือกาหนด
3. สามารถใช้กับการเรียนในทุกรูปแบบและทุกสภาวการณ์ เนื่องจากการใช้สื่อประสมสามารถใช้ได้หลากหลายวิธีการเพื่อจัดการเรียนการสอนที่ดีที่สุดแก่ผู้เรียน
4. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์เชิงโต้ตอบกับบทเรียน ทาให้เป็นการเรียนรู้แบบกระฉับกระเฉง ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาข้อมูลความรู้หลากหลายรูปแบบ
5. เสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เชิงทดลอง และแบบ story line
6. สร้างการทางานในลักษณะของโครงงานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียน
7. สนับสนุนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
8. เหมาะสาหรับการเรียนรายบุคคล ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้ไม่ว่าผู้เรียนจะเรียนได้เร็วหรือช้า ไม่ต้องคอยกัน
9. เหมาะอย่างยิ่งในการสร้างเนื้อหาบทเรียนในการศึกษาทางไกล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถรับข้อมูลได้ทุกรูปแบบ


ประสิทธิภาพนั้น จะประกอบไปด้วยขั้นตอนสาคัญดังต่อไปนี้

         1. การทบทวน ตรวจสอบผลผลิตที่เกี่ยวข้องกับสื่อ ( Review Existing Products ) เป็นการสารวจข้อมูลหรือเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับสื่อที่จะผลิต รวมทั้งสื่อประกอบอื่นๆที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมในการผลิตสื่อนั้นๆ
         2. วิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวกับเรื่อง/หัวข้อที่จะผลิต ( Perform Research Background on the Topic ) เป็นการศึกษาและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทาให้รอบคอบและรัดกุม เพื่อให้เกิดความชัดเจนถูกต้องต่อการผลิตสื่อมัลติมีเดียนั้นเป็นลักษณะการกาหนดรายละเอียดเชิงเนื้อหา
         3. จัดระบบและวางลาดับขั้นตอนการผลิต ( Storyboard each Frame / Segment ) รายละเอียดของเนื้อหาสื่อมัลติมีเดียจากขั้นตอนที่ผ่านมาจะถูกกาหนดเป็นระบบขั้นตอนของกระบวนการผลิต โดยจัดทาในรูปแบบการเขียนลาดับการสร้างหรือบท ( Storyboard /Script ) ซึ่งจะเป็นสิ่งอานวยความสะดวกต่อผู้ผลิต และสามารถผลิตได้ถูกต้องสมบูรณ์จากบทหรือการจัดวางลาดับที่จัดกระทาไว้
        4. สร้างและพัฒนาสื่อในแต่ละตอนให้เกิดความสมบูรณ์ ( Develop Individual Frames and Segments ) ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียจากโปรแกรมที่กาหนดไว้นั้น ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระในแต่ละตอนทั้งที่เป็นรูปภาพ เสียง ภาพจาลอง ( Animation ) ภาพเคลื่อนไหวหรือวีดิทัศน์ แล้วนาไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อนามาปรับปรุงต่อไป
        5. ทาการทดสอบหรือเชื่อมโยงการใช้โปรแกรมที่ผลิตร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ( Add Link Parts Together ) โดยทาการทดสอบการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของสื่อมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้นนั้น ร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในองค์กร เพื่อทาการทดสอบประสิทธิภาพในด้านภาพและเสียง หรือเทคนิคพิเศษต่างๆที่ผลิตขึ้นเพื่อให้เกิดความแน่ใจและมั่นใจต่อการนาไปใช้จริง
         6. การทดสอบและปรับปรุงขั้นสุดท้ายก่อนขยายผลการใช้จริง ( Test and Revised the Product ) สื่อมัลติมีเดียที่ผ่านกระบวนการทั้งหมดมาเรียบร้อยแล้ว ต้องทาการตรวจสอบขั้นสุดท้ายเพื่อนาไปใช้จริงในสถานการณ์ทางการเรียนรู้ต่อไป 


1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีค่ะคุณอรุณ จาดนอก ดิฉัน น.ส. ราตรี วิเศษ ค่ะ
    เท่าที่ดูๆนะค่ะ ควรปรับปรุงด้านข้างของบล็กทั้งสองฝั่งให้เท่ากันจะดูดีมาก
    ส่วนด้านเนื้อหามีความสมบูรณ์ครบถ้วนดี วีดีโอที่และบทความเกี่ยวข้องก็หลายหลายดีมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ